วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีทางการเกษตร

Tuesday, February 28, 2012
แนะทางแก้ปัญหาเพลี้ยกระโดดบุกนาข้าว...หนทางช่วยชาวนาพัฒนาคุณภาพและผลผลิตข้าวไทยไปสู่ตลาดโลกแนะทางแก้ปัญหาเพลี้ยกระโดดบุกนาข้าว...หนทางช่วยชาวนาพัฒนาคุณภาพและผลผลิตข้าวไทยไปสู่ตลาดโลก
9:25 AM :: 1535 Views :: Article Rating :: แนะนำเทคโนโลยีการผลิต
 
    วันนี้คงต้องขอกล่าวถึงปัญหาชาวนาไทยที่มีมาแต่ดึกดำบรรพ์ไม่ว่าจะเป็นปัญหาราคาข้าวตกต่ำ   และผลผลิตตกต่ำ  ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคแมลงศัตรูข้าว และล่าสุดชาวนาต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมอย่างหนัก ซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้  จนเกิดปัญหาหนี้สินเพิ่มพูนตามมาเป็นบัญชีหางว่าว เรียกว่าเป็นปัญหาที่ถาถม  สะสมมาหลายศรรตวรรศจากรุ่นสู่รุ่นเลยก็ว่าได้  ชาวนาส่วนใหญ่ทำนามาชั่วชีวิตก็ยังคงมีแต่หนี้สิ้นแต่ก็ไม่คิดที่จะเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นก็เพราะเป็นอาชีพที่รัก  และที่น่าเศร้าในคำตอบของชาวนาคือ  “หากไม่ทำนาแล้วก็ไม่รู้จะไปทำอาชีพอะไร? เพราะทำกันมาสืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายแล้ว   ก็เลยต้องยึดอาชีพทำนากันต่อไป    
    ดังนั้นเมื่อมีการปลูกข้าวกันมากอย่างกับในพื้นที่ภาคกลางด้วยแล้วและเป็นการปลูกข้าวโดยใช้ช่วงเวลาปลูกติดต่อกันอย่างต่อเนื่องจึงเป็นสาเหตุของที่มาที่จะเป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่เกิดการระบาดดูกินน้ำเลี้ยงตั้งแต่บริเวณโคนต้นจนข้าวที่กำลังออกรวงและใกล้จะเก็บเกี่ยวแล้วต้องฟุ๊บเป็นสีน้ำตาล เมล็ดที่รวงมีอาการลีบ  จนชาวนาได้ผลผลิตน้อยมากหรือแทบไม่ได้ผลผลิตเลยทั้งแปลงจึงกลายเป็นผลพวงพ่วงปัญหาให้สะสมถาถมให้แก่ชาวนาเพิ่มมากขึ้นอยู่ในขณะนี้
   คุณนงนุช  สว่างศรี    ถือเป็นชาวนารุ่นใหม่ที่จัดอยู่ในเกษตรกรชุดหัวไวใจสู้  อายุ 35 ปี  ปลูกข้าวที่ ต.กระเสียว อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี   ได้เล่าว่าในปัจจุบันได้มีการระบาดของโรคแมลงในนาข้าวมีเยอะมาก  โดยเฉพาะในเรื่องของการระแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนั้นเป็นปัญหาใหญ่และสำคัญมากแก่ชาวนา   แม้ที่ผ่านมาจะวิธีการกำจัดเพลี้ยกระโดดทั้งการป้องกัน  และกำจัดอย่างไร ใช้สารเคมีฉีดพ่นหลายครั้งก็เอาไม่อยู่  ทำให้นาข้าวของชาวนาได้รับความเสียหายอย่างหนักเป็นบริเวณกว้างอย่างกับในพื้นที่ อ.สามชุก ตลาดร้อยปีที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และถือเป็นแหล่งปลูกข้าวแหล่งใหญ่กว่า 2 แสน 5 หมื่นไร่ต้องประสบกับปัญหาดังกล่าวด้วย    หลายพื้นที่ปลูกข้าวถึงกับ “ไม่ได้ข้าวเลย” คุณนงนุชจึงได้เสาะแสวงหาเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีที่ให้ทั้งผลผลิตสูงรวมทั้งต้องตอบโจทย์สำคัญให้กับชาวนาคือ “ต้องต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล”  จนในที่สุด ก็ค้นพบว่าข้าวพันธุ์ ซีพี 111 สามารถช่วยแก้ปัญหา ดังกล่าวได้
  

แปลงข้าวซีพี 111 ใกล้เก็บเกี่ยว
   นงนุชยอมรับว่า การทำการเกษตร“พันธุ์เป็นสิ่งสำคัญ” ที่จะส่งผลให้ได้ผลผลิตและได้คุณภาพข้าวที่ดีดังนั้นการนำพันธุ์ข้าวซีพี 111 มาปลูกนั้นแม้ชาวนารายอื่นจะยังไม่กล้าเสี่ยงด้วยเสียงที่ว่าราคาค่าเมล็ดพันธุ์ข้าว ซีพี 111 มันแพงซึ่ง 1 ไร่ต้องจ่ายค่าเมล็ดพันธุ์ 900 บาท ( 1 ไร่ใช้ 15 กก.)  ในขณะที่พันธุ์ทั่วไปลงทุน 500-600 บาท ( 1 ไร่ใช้ 25-30 กก.)   ปลูก  10  ไร่ สามารถลดค่าใช้จ่ายสารเคมีได้ถึง 10,000  บาท   แต่เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกันอย่างรอบคอบแล้ว จะเห็นว่าคุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้มคุ้ม คุ้มตั้งแต่ในเรื่องการฉีดพ่นสารเคมีแล้ว  ลองมาพินิจพิจารณาถึงความคุ้มค่าในการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวซีพี 111 ที่ คุณนงนุชเล่าให้ฟังได้ความคือ  คือ คุ้มที่   1  หว่านใช้เมล็ดพันธุ์น้อย  ใช้เพียง 15 กก.ต่อไร่ แตกกอดีกว่าพันธุ์ทั่วไป  ในขณะที่พันธุ์ทั่วไปชาวนาหว่านถึง   25- 30 กก.ต่อไร่   คุ้มที่ 2 ไม่มีปัญหาเรื่องข้าวดีด ข้าวเด้งที่มากับพันธุ์ ซึ่งต้องเสียค่าจัดการในการดูแล คุ้มที่ 3 สามารถต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลปัญหาร้ายแรงที่ชาวนาส่วนใหญ่ต้องเผชิญอยู่ในขณะนี้ที่พบว่าพันธุ์อื่นทั่วไปที่แปลงปลูกข้าวปลูกอยู่ติดกันและปลูกในช่วงเวลาเดียวกันโดนเพลี้ยกระโดดลงข้าวเกิดความเสียหายมากในขณะที่พันธุ์ซีพี111  นั้นไม่แสดงอาการถูกทำลาย  สามารถทนทานต่อการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดด    ลดค่าใช้จ่ายในการฉีดพ่นสารเคมีลงถึงไร่ละกว่า 1,000    คุ้มที่ 4  ได้ผลผลิตข้าวสูงเฉลี่ยไร่ละ 1,100  กก.ต่อไร่ในขณะที่พันธุ์ทั่วที่ปลูกในฤดูเดียวกันรุ่นเดียวกันได้เพียง 800-900 กก.ไร่ (ปลูกช่วงปรัง 1  เริ่มปลูก 1 พ.ย.54-20 ก.พ. 55 ) เนื่องจากมีจำนวนเมล็ดต่อรวงมากเฉลี่ยที่ 180-190 เมล็ดต่อรวงในขณะที่พันธุ์ทั่วไปอยู่ที่  150 เมล็ดต่อรวง  

ลักษณะรวงและเมล็ดต่อรวงข้าวเปรียบเทียบ พันธุ์ ซีพี 111 ซ้าย และพันธุ์ทั่วไปทางด้านขวา
 
ลักษณะลำต้นข้าวพันธุ์ ซีพี 111 ลำต้นยังคงเขียวโดยเพลี้ยไม่ทำลาย  (ซ้าย)
ในขณะที่พันธุ์ทั่วไปปลูกติดกันเพลี้ยได้ทำลายเสียหายมาก (ขวา)
   เรียกได้ว่าพันธุ์ข้าว ซีพี 111  นอกจากจะเป็นพันธุ์ข้าวที่ช่วยตอบโจทย์ช่วยแก้ปัญหาให้กับชาวนาในการต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจึงช่วยให้ชาวนาได้ผลผลิตข้าวเยอะขึ้น   ขายข้าวได้เงินเพิ่มมากขึ้น  และได้ราคาดีตามโครงการจำนำข้าวที่รัฐได้ดำเนินการอยู่ในขณะนี้  ซึ่งจะช่วยให้ชาวนามีรายได้เพิ่มมากขึ้นสามารถลืมตาอ้าปากได้มากขึ้นกว่าเดิม

คุณวิชัย  พูนพิริยะทรัพย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส
กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือซีพี
   ทางด้าน  นายวิชัย  พูนพิริยะทรัพย์  รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส  กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร  กล่าวว่า จากสถานการณ์ที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นผลความต้องการบริโภคข้าวขาวสูงเพิ่มขึ้นตามไปด้วยดังนั้นการที่ซีพีได้วิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวขาวพันธุ์ซีพี 111 ขึ้นมาสิ่งแรกก็เพื่อตอบโจทย์ชาวนาคือต้านทานเพลี้ยทำให้ลดการใช้สารเคมี  รวงใหญ่ที่ให้ได้ผลผลิตสูง   และได้ข้าวคุณภาพดีเป็นที่ต้องการในการส่งออก   ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มปริมาณข้าวคุณภาพดีใช้ในการส่งออกข้าวขาวของประเทศไทยไปยังตลาดโลกให้เพิ่มมากขึ้นในอนาคต  โดยในปี 2554  ประเทศไทยส่งออกข้าวมากถึง 10.5 ล้านตัน แบ่งเป็นข้าวขาวมากที่สุดถึง 7 ล้าน   ข้าว ซีพี 111 เป็นพันธุ์ข้าวขาวที่มีอะไมโลสสูงมีลักษณะคล้ายกับข้าว กข. 21  และ กข. 29   สามารถต่อยอดไปใช้ทำเป็นข้าวนึ่งได้ดี     และในขณะนี้เป็นพันธุ์ข้าวซีพี 111 ที่ได้รับการตอบรับเพราะช่วยตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาให้กับชาวนาในเขตพื้นภาคกลางที่อยู่ในเขตชลประทานในการช่วยต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้   ซึ่งจะมีโอกาสส่งออกไปต่างประเทศแข่งขันกับประเทศเวียดนามที่ส่งออกข้าวขาวเหมือนกับประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น   แต่จุดเด่นของข้าวขาวไทยคือ ผลิตข้าวขาวที่มีคุณภาพ มีเมล็ดยาว จึงขายได้ราคาดีกว่าประเทศอื่น ๆ    ซึ่งในอนาคตเองประเทศไทยในส่วนของภาครัฐจะต้องกำหนด เป็นกฏเกณฑ์ให้ชัดเจนว่าประเทศไทยจะต้องส่งออกข้าวที่มีคุณภาพดีเท่านั้นจึงจะแข่งขันและคงความเป็นแชมป์ในการส่งออกข้าวไทยไปในตลาดโลกโดยไม่ต้องเกรงกลัวข้าวจากประเทศใด  ๆ โลก  และชาวนาไทยเองก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญต่อการผลิตข้าวคุณภาพสูงเพื่อการส่งออกตามกันไปด้วย   ทั้งนี้ทุกภาคส่วนทั้งชาวนา  ภาครัฐ  และผู้ส่งออกข้าวก็จะต้องมีการสอดประสานขานรับกันเป็นอย่างดีที่จะต้องการผลิตข้าวคุณภาพดีสู่ประชากรโลก สามารถแข่งขันได้ในตลาดข้าวขาวโลก

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีชีวภาพ

เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
คือการใช้เทคนิค หรือกระบวนการต่างในการนำสิ่งมีชีวิต ชิ้นส่วนของสิ่ง มีชีวิต หรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ใน ด้านต่าง ๆ ได้แก่ด้านการเกษตร ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านอุตสาหกรรมอาหาร และด้านการแพทย์ โดยเทคโนโลยีชีวภาพนี้ได้มีความเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ใน สาขาต่าง ๆ อาทิ ชีววิทยา จุลชีววิทยา พันธุศาสตร์ เกษตรศาสตร์ แพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น หากมองกันอย่างเป็นกลางแล้วจะเห็นได้ว่าบ้านเราเองมีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ กันมานานมากแล้ว ตั้งแต่ที่ยังไม่ได้ติดต่อกับโลกตะวันตกด้วยซ้ำไป เช่นการทำน้ำปลา การทำซีอิ้ว การหมักปลาร้า การหมักเหล้า สาโท และกระแช่ ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิมทั้งสิ้น แต่ไม่ได้มีการอธิบายให้มีความกระจ่างในแง่วิชาการหรือกระบวนการทางวิทยา ศาสตร์ให้มีความเข้าใจกันก็เท่านั้น

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ขอชวนเชิญเพื่อนมาแสดงความคิดเห็นด้วยนะค่ะ

เทคโนโลยีทางการเกษตรยุคใหม่
ความภูมิใจของคนไทย
บริษัท ศูนย์เกษตรกรรมบางไทร จำกัด ได้ทำการศึกษาค้นคว้า และพัฒนาการปลูกพืชแผนใหม่โดยไม่ใช้ดิน จนประสบความสำเร็จ และเป็นที่ยอมรับ ได้รับความไว้วางใจจากหลายหน่วยงาน รวมถึง องค์กรผู้บริโภคทั่วไป โดยมีข้อแตกต่าง จากระบบการปลูก ของต่างประเทศดังนี้

1. สามารถปลูกพืชที่เหมาะสมกับอุปนิสัยการ บริโภคของคนไทย เช่น คะน้า ผักกาดขาว กวางตุ้ง ปวยเล้ง ผักโขม ผักรับประทานใบทุกชนิด และสามารถปลูกผักสลัดพันธุ์ต่างประเทศที่นิยมปลูก ในระบบไร้ดินได้ผลผลิตสูง การดูและรักษาทำได้โดยง่าย
2. อายุการปลูกสั้น ใช้เวลาเพียง 20 – 30 วัน เท่านั้น
3. ไม่ต้องถ่ายปุ๋ยทิ้งระหว่างการปลูก ทำให้ประหยัดต้นทุน และเวลา
4. สามารถปลูกเป็นงานอดิเรก หรือปลูกในเชิงพาณิชย์ได้ดี
5. เป็นระบบปลูกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้สารพิษกำจัดแมลง 100%
6. วัสดุอุปกรณ์ ธาตุอาหาร ทั้งหมดผลิตขึ้นภายในประเทศ มีอายุการใช้งานยาวนาน

ใส่จุลินทรีย์ เข้าช่วยในการปรับปรุงบำรุงดิน  การรักษาสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดินโดยการเติมอินทรียวัตถุคืนแก่ดิน ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ เป็นเทคนิคอีกทางเลือกหนึ่งที่นำมาใช้ เพื่อฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินอย่างเร่งด่วน จึงต้องหาจุลินทรีย์ที่ดีมาใช้
แหล่งที่มาของเชื้อจุลินทรีย์
1.หน้าดินดีจากป่า (จากแหล่งที่อยู่ใกล้พื้นที่)
2.ดินจากโคนจอมปลวกที่มีความร่วนซุย
3.ดินเศษซากพืชตามโคนไม้ใหญ่ที่ไม่เคยใช้สารเคมี เช่น ดินโคนต้นจามจุรีหรือดินบริเวณกอไผ่ สังเกตบริเวณมีไส้เดือนอาศัย
การเก็บเชื้อจุลินทรีย์จากป่า  (เรียกว่าหัวเชื้อดินดีจากป่า)
นำเชื้อดินดีจากป่าบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ในป่า ที่มีเศษใบไม้ทับถมและมีความชื้นมีลักษณะยุ่ยสลายกลายเป็นดินแล้ว มีความอ่อนนุ่ม มีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นเห็ด
ประมาณ 1- 2 กก.

การเพาะเลี้ยงขยายหัวเชื้อจุลินทรีย์แบบแห้ง    
       
ใบไม้ต่างๆ ,น้ำ ,กากน้ำตาล ,รำละเอียด ดินจากป่าสมบูรณ์  เลี้ยงไว้ในร่มไม้ไม่มีแดด

1.หัวเชื้อดินดีจากป่า1ส่วน(1กก.)
2.รำละเอียด1ส่วน (1 กก.)
3.เศษใบไม้แห้งละเอียด แกลบดิบ หรือใบไผ่แห้ง 1.กระสอบ (5 กก.)
4.กากน้ำตาล(โมลาส)250 ซีซี. ผสมน้ำเปล่า 5 ลิตร

วิธีทำ
1.นำวัสดุคลุกเคล้าให้เข้ากันรดน้ำพอหมาด
2.ใช้กระสอบห่อบ่มไว้ในที่ร่มประมาณ7วัน
3.นำไปทำจุลินทรีย์น้ำ หรือ เก็บไว้สำหรับเป็นหัวเชื้อในการขยายเชื้อครั้งต่อไป
4.เก็บรักษาในที่ร่มอุณหภูมิปกติ
   
   
การเพาะเลี้ยงขยายหัวเชื้อจุลินทรีย์แบบน้ำ

นำน้ำ 200 ลิตร ,โมลาส 10 กก.(ถ้าไม่มีก็ใช้ปลายข้าวต้ม 10 กก.ใส่แทนกากน้ำตาลได้) ละลายให้เข้ากันในถังที่มีฝาปิด เอาจุลินทรีย์ที่เก็บมาจากป่า หรือจุลินทรีย์ที่เพาะเลี้ยงแบบแห้งใส่ลงไปในน้ำที่เตรียมไว้ ข้างบนโรยด้วย รำละเอียดให้ทั่วปากถัง 200 ลิตร ปิดฝาทิ้งไว้ 7-15 วัน ถ้าจุลินทรีย์ที่เก็บมามีความเข็งแรงก็จะเจริญขยายอย่างรวดเร็ว 1-2 วันก็จะเกิดเป็นฝ้าขาวบนผิวน้ำ คือ การขยายตัวของจุลินทรีย์ และ จมลงก็สามารถนำน้ำที่ได้ไปใช้ตามต้องการในการทำการเกษตร

  
        ละลายกากน้ำตาล                             ใส่เชื้อจุลินทรีย์แห้ง

   
                   เติมรำ                                   คนให้เข้ากันแล้วปิดฝา
   

ผลการวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์ที่ได้จากดินป่านำขยายในใบไผ่

1. เชื้อรา  5 ไอโซเลท 
แยกเป็น    ไตรโคเดอร์มา        2 ไอโซเลท     
               ไรโซปัส               2 ไอโซเลท
                แอสเปอร์จิลรัส       1 ไอโซเลท               
2. ยีสต์   9 ไอโซเลท
แยกเป็น     แซคคาโรไมสีตส์    4 ไอโซเลท
               ไม่สามารถจำแนกชนิดได้  5 ไอโซเลท      
3.แบคทีเรีย  5 ไอโซเลท
แยกเป็น    บาซิลัส  4 ไอโซเลท
              ไม่สามารถจำแนกชนิดได้  1 ไอโซเลท


      
           ไตรโครเดอร์มา                                         บาซิลัส

     
                  ไรโซปัส                                               ยีสต์


สรุปผลการวิเคราะห์

1.มีไตรโคเดอร์มาหลายสายพันธุ์
2.มีเชื้อราและยีสต์หลายชนิดที่ทนต่อสภาพแวดล้อมสูงและมีความสามารถในการสร้างเอมไซม์ต่างๆได้
3.มีแบคทีเรียบาซิรัสและยีสต์หลายชนิดที่สามารถสร้างสารยับยั้งเชื้อราและแบคทีเรียโรคพืชได้
4.หากนำจุลินทรีย์ใบไผ่นี้ไปใช้ในแปลงเพาะปลูกพืชจะเป็นผลดีอย่างยิ่งต่อการ ปลูกพืชของเกษตรกรไม่ว่าจะเป็นการลดปัญหาด้านโรคพืชและการเพิ่มการเจริญเติบ โต

เทคนิควิธีการนำ หัวเชื้อจุลินทรีย์ น้ำและแห้ง ไปใช้

1.1การนำไปใช้เร่งการย่อยสลายฟาง  ฟางเป็นปุ๋ยในแปลงนาที่เราไม่ต้องซื้อหาจากภายนอก การหมักฟางช่วยเร่งให้ดินฟื้นตัวเร็วขึ้น และเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับแปลงนา

วิธีการคือ   นำหัวเชื้อจุลินทรีย์น้ำ  5  ลิตรใช้ต่อ 1 ไร่ ใส่ลงในถังที่จะนำไปฉีดพ่นในแปลงนาขนาดบรรจุ 150  ลิตร เติมน้ำลงไป 100  ลิตร
พร้อมกับเติมกากน้ำตาล 5 กก. คนให้ หัวเชื้อจุลินทรีย์ น้ำเปล่า และกากน้ำตาล ในถังให้เข้ากัน นำไปฉีดหรือสาดให้ทั่วแปลงนา หรือใส่ขณะย่ำฟางและตอซังข้าวในแปลงนาให้จมลงไปในน้ำและดินในแปลงนา จุลินทรีย์จะไปช่วยย่อยสลายตอซังและฟางข้าวให้กลายเป็นปุ๋ยในแปลงนาได้ดี
หมักทิ้งไว้ 7-10 วัน ก็สามารถลูปทำเทือกหว่านข้าวได้

1.2การนำไปทำหัวเชื้อหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพจากพืชผักสีเขียวและน้ำหมักผลไม้ (น้ำหมักชีวภาพ)

น้ำหมักจุลินทรีย์ผักผลไม้
วัตถุดิบ, วัสดุ/อุปกรณ์            
1.สับปะรด 1 กก.มะละกอ 1 กก.
กล้วย1กก. พืชผักสีเขียวต่างๆ 3 กก.
2.น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์ 2 ลิตร      
3..น้ำเปล่า 10 ลิตร     
4..ปลายข้าวสุกหรือน้ำตาล
ทรายแดง 2 กก.     
5.ถังหรือโอ่งน้ำที่มีฝาปิดเพื่อใช้ในการหมัก
6.ผ้าขาวหรือกระดาษขาวเพื่อปิดปากถังหรือโอ่งก่อนใช้ฝาปิดป้องกันสิ่งแปลกปลอมตกลงถังหมัก

วิธีทำ
นำสับปะรดสุก,มะละกอสุกกล้วยสุกและพืชผักสีเขียวต่างๆ3กก.มาสับหรือปั่นให้ เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วใส่ลงในภาชนะที่เตรียมไว้  ใส่น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปลายข้าวสุกหรือน้ำตาลทรายแดง ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาภาชนะหมักให้สนิท หมักทิ้งไว้ 10-15 วัน จากนั้นเติมน้ำสะอาดคนให้ทั่วหมักไว้อีก 5- 7 วัน
นำไปใช้ได้ หรือกรองเอาเฉพาะน้ำใส่ขวดเก็บไว้ในที่เย็นอากาศถ่ายเทสะดวกใช้ได้นาน ส่วนกากนำไปใส่แปลงผักช่วยปรับปรุงสภาพดินได้ดี





ประโยชน์

1.ให้ธาตุอาหารแก่พืชผักสูงโดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน        
2.ฉีดพ่นอัตราส่วน 2-3 ช้อนแกง/น้ำ 1ลิตร ช่วยเร่งราก  เร่งใบ
ช่วยให้การเจริญเติบโตของพืชผักดี


1.3การนำไปใช้เป็นหัวเชื้อทำฮอร์โมนจากสัตว์ สูตรต่างๆ

ฮอร์โมนรวม   ได้แก่ ปลา กุ้ง หอย 30 กก.  จุลินทรีย์ 1 ลิตร  กากน้ำตาล 10 ลิตร
ฮอร์โมนรกวัว  ได้แก่ รกวัว 4 กก. ไข่หอย 4 กก.  กากน้ำตาล 5 กก.
ฮอร์โมนไข่  ได้แก่ไข่ไก่ 100 ฟอง,เชื้อจุลินทรีย์ 1 ลิตร,น้ำเปล่า 5ลิตร กากน้ำตาล 1กก.
ฮอร์โมนปลา ได้แก่ เศษปลา 3 กก. น้ำมะพร้าว 10 กก. กากน้ำตาล ? กก. จุลินทรีย์ 100 ซีซี.
ทุกสูตร หมักไว้ 1 เดือนแล้วกรองเอาน้ำไปใช้ได้ดี





1.4 นำไปใช้เป็นหัวเชื้อทำปุ๋ยหมักชีวภาพ แบบแห้ง สูตรต่างๆคือ

สูตร1 . เศษพืชสับเป็นท่อนๆ 1ปี๊บ เช่นพืชตระกูลถั่ว แค ขี้เหล็ก จามจุร ีสาบเสือ มันสำปะหลัง ฯลฯ แกลบดิบ หรือละอองข้าว 1 ปี๊บ  ฟิลเตอร์เค้ก(กากตะกอนอ้อย) 5 ปี๊บ  หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ขยายแล้ว 1 ลิตร  น้ำสะอาด+กากน้ำตาล ( 1 : 20 )  รำละเอียด 1 ปี๊บ
วิธีทำ   นำทุกอย่างผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ความชื้น 40 % กองคลุมด้วยกระสอบหรือผ้า หมักไว้ 2-3 วันก็นำไปใส่ แปลงผัก แปลงนาข้าวได้ผลดีมาก แปลงนาข้าวได้ผลดีมาก
สูตร 2. ละอองข้าว 5 ถุง, มูลไก่ไข่ 4 ถุง, กากน้ำตาล 200 ซีซี,
จุลินทรีย์ 200 ซีซี, รำละเอียด15กก.ทุกอย่างผสมรวมกันหมักไว้ 7 วัน นำไปใช้ได้


หมายเหตุ

การนำเชื้อจุลินทรีย์จากป่าไปใช้ต้องเข้าใจด้วยว่า สภาพพื้นที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้จุลินทรีย์เติบโตแข็งแรงและทำงานให้แก่เรา ได้ตามวัตถุประสงค์ที่เราต้องการ
เพราะว่า จุลินทรีย์ที่เรานำมาจากป่า ก็ต้องการที่อยู่อาศัย ต้องการอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ต้องการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์  ได้ทำงานในบทบาทหน้าที่ตามที่ถนัด  มีสังคมเพราะจุลินทรีย์คือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กก็มีการอยู่ร่วมกันมีกระบวน การทำงานร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่น เพื่อก่อเกิดการฟื้นฟูสภาพดินให้ได้รวดเร็วมากขึ้น   เกษตรกรต้องให้ความสำคัญต่อปัจจัยต่างๆเหล่านี้ เพื่อให้การปรับปรุงบำรุงดินโดยการใช้จุลินทรีย์ช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุด