วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีทางการเกษตร

Tuesday, February 28, 2012
แนะทางแก้ปัญหาเพลี้ยกระโดดบุกนาข้าว...หนทางช่วยชาวนาพัฒนาคุณภาพและผลผลิตข้าวไทยไปสู่ตลาดโลกแนะทางแก้ปัญหาเพลี้ยกระโดดบุกนาข้าว...หนทางช่วยชาวนาพัฒนาคุณภาพและผลผลิตข้าวไทยไปสู่ตลาดโลก
9:25 AM :: 1535 Views :: Article Rating :: แนะนำเทคโนโลยีการผลิต
 
    วันนี้คงต้องขอกล่าวถึงปัญหาชาวนาไทยที่มีมาแต่ดึกดำบรรพ์ไม่ว่าจะเป็นปัญหาราคาข้าวตกต่ำ   และผลผลิตตกต่ำ  ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคแมลงศัตรูข้าว และล่าสุดชาวนาต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมอย่างหนัก ซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้  จนเกิดปัญหาหนี้สินเพิ่มพูนตามมาเป็นบัญชีหางว่าว เรียกว่าเป็นปัญหาที่ถาถม  สะสมมาหลายศรรตวรรศจากรุ่นสู่รุ่นเลยก็ว่าได้  ชาวนาส่วนใหญ่ทำนามาชั่วชีวิตก็ยังคงมีแต่หนี้สิ้นแต่ก็ไม่คิดที่จะเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นก็เพราะเป็นอาชีพที่รัก  และที่น่าเศร้าในคำตอบของชาวนาคือ  “หากไม่ทำนาแล้วก็ไม่รู้จะไปทำอาชีพอะไร? เพราะทำกันมาสืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายแล้ว   ก็เลยต้องยึดอาชีพทำนากันต่อไป    
    ดังนั้นเมื่อมีการปลูกข้าวกันมากอย่างกับในพื้นที่ภาคกลางด้วยแล้วและเป็นการปลูกข้าวโดยใช้ช่วงเวลาปลูกติดต่อกันอย่างต่อเนื่องจึงเป็นสาเหตุของที่มาที่จะเป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่เกิดการระบาดดูกินน้ำเลี้ยงตั้งแต่บริเวณโคนต้นจนข้าวที่กำลังออกรวงและใกล้จะเก็บเกี่ยวแล้วต้องฟุ๊บเป็นสีน้ำตาล เมล็ดที่รวงมีอาการลีบ  จนชาวนาได้ผลผลิตน้อยมากหรือแทบไม่ได้ผลผลิตเลยทั้งแปลงจึงกลายเป็นผลพวงพ่วงปัญหาให้สะสมถาถมให้แก่ชาวนาเพิ่มมากขึ้นอยู่ในขณะนี้
   คุณนงนุช  สว่างศรี    ถือเป็นชาวนารุ่นใหม่ที่จัดอยู่ในเกษตรกรชุดหัวไวใจสู้  อายุ 35 ปี  ปลูกข้าวที่ ต.กระเสียว อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี   ได้เล่าว่าในปัจจุบันได้มีการระบาดของโรคแมลงในนาข้าวมีเยอะมาก  โดยเฉพาะในเรื่องของการระแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนั้นเป็นปัญหาใหญ่และสำคัญมากแก่ชาวนา   แม้ที่ผ่านมาจะวิธีการกำจัดเพลี้ยกระโดดทั้งการป้องกัน  และกำจัดอย่างไร ใช้สารเคมีฉีดพ่นหลายครั้งก็เอาไม่อยู่  ทำให้นาข้าวของชาวนาได้รับความเสียหายอย่างหนักเป็นบริเวณกว้างอย่างกับในพื้นที่ อ.สามชุก ตลาดร้อยปีที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และถือเป็นแหล่งปลูกข้าวแหล่งใหญ่กว่า 2 แสน 5 หมื่นไร่ต้องประสบกับปัญหาดังกล่าวด้วย    หลายพื้นที่ปลูกข้าวถึงกับ “ไม่ได้ข้าวเลย” คุณนงนุชจึงได้เสาะแสวงหาเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีที่ให้ทั้งผลผลิตสูงรวมทั้งต้องตอบโจทย์สำคัญให้กับชาวนาคือ “ต้องต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล”  จนในที่สุด ก็ค้นพบว่าข้าวพันธุ์ ซีพี 111 สามารถช่วยแก้ปัญหา ดังกล่าวได้
  

แปลงข้าวซีพี 111 ใกล้เก็บเกี่ยว
   นงนุชยอมรับว่า การทำการเกษตร“พันธุ์เป็นสิ่งสำคัญ” ที่จะส่งผลให้ได้ผลผลิตและได้คุณภาพข้าวที่ดีดังนั้นการนำพันธุ์ข้าวซีพี 111 มาปลูกนั้นแม้ชาวนารายอื่นจะยังไม่กล้าเสี่ยงด้วยเสียงที่ว่าราคาค่าเมล็ดพันธุ์ข้าว ซีพี 111 มันแพงซึ่ง 1 ไร่ต้องจ่ายค่าเมล็ดพันธุ์ 900 บาท ( 1 ไร่ใช้ 15 กก.)  ในขณะที่พันธุ์ทั่วไปลงทุน 500-600 บาท ( 1 ไร่ใช้ 25-30 กก.)   ปลูก  10  ไร่ สามารถลดค่าใช้จ่ายสารเคมีได้ถึง 10,000  บาท   แต่เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกันอย่างรอบคอบแล้ว จะเห็นว่าคุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้มคุ้ม คุ้มตั้งแต่ในเรื่องการฉีดพ่นสารเคมีแล้ว  ลองมาพินิจพิจารณาถึงความคุ้มค่าในการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวซีพี 111 ที่ คุณนงนุชเล่าให้ฟังได้ความคือ  คือ คุ้มที่   1  หว่านใช้เมล็ดพันธุ์น้อย  ใช้เพียง 15 กก.ต่อไร่ แตกกอดีกว่าพันธุ์ทั่วไป  ในขณะที่พันธุ์ทั่วไปชาวนาหว่านถึง   25- 30 กก.ต่อไร่   คุ้มที่ 2 ไม่มีปัญหาเรื่องข้าวดีด ข้าวเด้งที่มากับพันธุ์ ซึ่งต้องเสียค่าจัดการในการดูแล คุ้มที่ 3 สามารถต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลปัญหาร้ายแรงที่ชาวนาส่วนใหญ่ต้องเผชิญอยู่ในขณะนี้ที่พบว่าพันธุ์อื่นทั่วไปที่แปลงปลูกข้าวปลูกอยู่ติดกันและปลูกในช่วงเวลาเดียวกันโดนเพลี้ยกระโดดลงข้าวเกิดความเสียหายมากในขณะที่พันธุ์ซีพี111  นั้นไม่แสดงอาการถูกทำลาย  สามารถทนทานต่อการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดด    ลดค่าใช้จ่ายในการฉีดพ่นสารเคมีลงถึงไร่ละกว่า 1,000    คุ้มที่ 4  ได้ผลผลิตข้าวสูงเฉลี่ยไร่ละ 1,100  กก.ต่อไร่ในขณะที่พันธุ์ทั่วที่ปลูกในฤดูเดียวกันรุ่นเดียวกันได้เพียง 800-900 กก.ไร่ (ปลูกช่วงปรัง 1  เริ่มปลูก 1 พ.ย.54-20 ก.พ. 55 ) เนื่องจากมีจำนวนเมล็ดต่อรวงมากเฉลี่ยที่ 180-190 เมล็ดต่อรวงในขณะที่พันธุ์ทั่วไปอยู่ที่  150 เมล็ดต่อรวง  

ลักษณะรวงและเมล็ดต่อรวงข้าวเปรียบเทียบ พันธุ์ ซีพี 111 ซ้าย และพันธุ์ทั่วไปทางด้านขวา
 
ลักษณะลำต้นข้าวพันธุ์ ซีพี 111 ลำต้นยังคงเขียวโดยเพลี้ยไม่ทำลาย  (ซ้าย)
ในขณะที่พันธุ์ทั่วไปปลูกติดกันเพลี้ยได้ทำลายเสียหายมาก (ขวา)
   เรียกได้ว่าพันธุ์ข้าว ซีพี 111  นอกจากจะเป็นพันธุ์ข้าวที่ช่วยตอบโจทย์ช่วยแก้ปัญหาให้กับชาวนาในการต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจึงช่วยให้ชาวนาได้ผลผลิตข้าวเยอะขึ้น   ขายข้าวได้เงินเพิ่มมากขึ้น  และได้ราคาดีตามโครงการจำนำข้าวที่รัฐได้ดำเนินการอยู่ในขณะนี้  ซึ่งจะช่วยให้ชาวนามีรายได้เพิ่มมากขึ้นสามารถลืมตาอ้าปากได้มากขึ้นกว่าเดิม

คุณวิชัย  พูนพิริยะทรัพย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส
กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือซีพี
   ทางด้าน  นายวิชัย  พูนพิริยะทรัพย์  รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส  กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร  กล่าวว่า จากสถานการณ์ที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นผลความต้องการบริโภคข้าวขาวสูงเพิ่มขึ้นตามไปด้วยดังนั้นการที่ซีพีได้วิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวขาวพันธุ์ซีพี 111 ขึ้นมาสิ่งแรกก็เพื่อตอบโจทย์ชาวนาคือต้านทานเพลี้ยทำให้ลดการใช้สารเคมี  รวงใหญ่ที่ให้ได้ผลผลิตสูง   และได้ข้าวคุณภาพดีเป็นที่ต้องการในการส่งออก   ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มปริมาณข้าวคุณภาพดีใช้ในการส่งออกข้าวขาวของประเทศไทยไปยังตลาดโลกให้เพิ่มมากขึ้นในอนาคต  โดยในปี 2554  ประเทศไทยส่งออกข้าวมากถึง 10.5 ล้านตัน แบ่งเป็นข้าวขาวมากที่สุดถึง 7 ล้าน   ข้าว ซีพี 111 เป็นพันธุ์ข้าวขาวที่มีอะไมโลสสูงมีลักษณะคล้ายกับข้าว กข. 21  และ กข. 29   สามารถต่อยอดไปใช้ทำเป็นข้าวนึ่งได้ดี     และในขณะนี้เป็นพันธุ์ข้าวซีพี 111 ที่ได้รับการตอบรับเพราะช่วยตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาให้กับชาวนาในเขตพื้นภาคกลางที่อยู่ในเขตชลประทานในการช่วยต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้   ซึ่งจะมีโอกาสส่งออกไปต่างประเทศแข่งขันกับประเทศเวียดนามที่ส่งออกข้าวขาวเหมือนกับประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น   แต่จุดเด่นของข้าวขาวไทยคือ ผลิตข้าวขาวที่มีคุณภาพ มีเมล็ดยาว จึงขายได้ราคาดีกว่าประเทศอื่น ๆ    ซึ่งในอนาคตเองประเทศไทยในส่วนของภาครัฐจะต้องกำหนด เป็นกฏเกณฑ์ให้ชัดเจนว่าประเทศไทยจะต้องส่งออกข้าวที่มีคุณภาพดีเท่านั้นจึงจะแข่งขันและคงความเป็นแชมป์ในการส่งออกข้าวไทยไปในตลาดโลกโดยไม่ต้องเกรงกลัวข้าวจากประเทศใด  ๆ โลก  และชาวนาไทยเองก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญต่อการผลิตข้าวคุณภาพสูงเพื่อการส่งออกตามกันไปด้วย   ทั้งนี้ทุกภาคส่วนทั้งชาวนา  ภาครัฐ  และผู้ส่งออกข้าวก็จะต้องมีการสอดประสานขานรับกันเป็นอย่างดีที่จะต้องการผลิตข้าวคุณภาพดีสู่ประชากรโลก สามารถแข่งขันได้ในตลาดข้าวขาวโลก

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีชีวภาพ

เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)
คือการใช้เทคนิค หรือกระบวนการต่างในการนำสิ่งมีชีวิต ชิ้นส่วนของสิ่ง มีชีวิต หรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ใน ด้านต่าง ๆ ได้แก่ด้านการเกษตร ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านอุตสาหกรรมอาหาร และด้านการแพทย์ โดยเทคโนโลยีชีวภาพนี้ได้มีความเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ใน สาขาต่าง ๆ อาทิ ชีววิทยา จุลชีววิทยา พันธุศาสตร์ เกษตรศาสตร์ แพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น หากมองกันอย่างเป็นกลางแล้วจะเห็นได้ว่าบ้านเราเองมีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ กันมานานมากแล้ว ตั้งแต่ที่ยังไม่ได้ติดต่อกับโลกตะวันตกด้วยซ้ำไป เช่นการทำน้ำปลา การทำซีอิ้ว การหมักปลาร้า การหมักเหล้า สาโท และกระแช่ ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิมทั้งสิ้น แต่ไม่ได้มีการอธิบายให้มีความกระจ่างในแง่วิชาการหรือกระบวนการทางวิทยา ศาสตร์ให้มีความเข้าใจกันก็เท่านั้น