วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ขอชวนเชิญเพื่อนมาแสดงความคิดเห็นด้วยนะค่ะ

เทคโนโลยีทางการเกษตรยุคใหม่
ความภูมิใจของคนไทย
บริษัท ศูนย์เกษตรกรรมบางไทร จำกัด ได้ทำการศึกษาค้นคว้า และพัฒนาการปลูกพืชแผนใหม่โดยไม่ใช้ดิน จนประสบความสำเร็จ และเป็นที่ยอมรับ ได้รับความไว้วางใจจากหลายหน่วยงาน รวมถึง องค์กรผู้บริโภคทั่วไป โดยมีข้อแตกต่าง จากระบบการปลูก ของต่างประเทศดังนี้

1. สามารถปลูกพืชที่เหมาะสมกับอุปนิสัยการ บริโภคของคนไทย เช่น คะน้า ผักกาดขาว กวางตุ้ง ปวยเล้ง ผักโขม ผักรับประทานใบทุกชนิด และสามารถปลูกผักสลัดพันธุ์ต่างประเทศที่นิยมปลูก ในระบบไร้ดินได้ผลผลิตสูง การดูและรักษาทำได้โดยง่าย
2. อายุการปลูกสั้น ใช้เวลาเพียง 20 – 30 วัน เท่านั้น
3. ไม่ต้องถ่ายปุ๋ยทิ้งระหว่างการปลูก ทำให้ประหยัดต้นทุน และเวลา
4. สามารถปลูกเป็นงานอดิเรก หรือปลูกในเชิงพาณิชย์ได้ดี
5. เป็นระบบปลูกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้สารพิษกำจัดแมลง 100%
6. วัสดุอุปกรณ์ ธาตุอาหาร ทั้งหมดผลิตขึ้นภายในประเทศ มีอายุการใช้งานยาวนาน

ใส่จุลินทรีย์ เข้าช่วยในการปรับปรุงบำรุงดิน  การรักษาสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดินโดยการเติมอินทรียวัตถุคืนแก่ดิน ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ เป็นเทคนิคอีกทางเลือกหนึ่งที่นำมาใช้ เพื่อฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินอย่างเร่งด่วน จึงต้องหาจุลินทรีย์ที่ดีมาใช้
แหล่งที่มาของเชื้อจุลินทรีย์
1.หน้าดินดีจากป่า (จากแหล่งที่อยู่ใกล้พื้นที่)
2.ดินจากโคนจอมปลวกที่มีความร่วนซุย
3.ดินเศษซากพืชตามโคนไม้ใหญ่ที่ไม่เคยใช้สารเคมี เช่น ดินโคนต้นจามจุรีหรือดินบริเวณกอไผ่ สังเกตบริเวณมีไส้เดือนอาศัย
การเก็บเชื้อจุลินทรีย์จากป่า  (เรียกว่าหัวเชื้อดินดีจากป่า)
นำเชื้อดินดีจากป่าบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ในป่า ที่มีเศษใบไม้ทับถมและมีความชื้นมีลักษณะยุ่ยสลายกลายเป็นดินแล้ว มีความอ่อนนุ่ม มีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นเห็ด
ประมาณ 1- 2 กก.

การเพาะเลี้ยงขยายหัวเชื้อจุลินทรีย์แบบแห้ง    
       
ใบไม้ต่างๆ ,น้ำ ,กากน้ำตาล ,รำละเอียด ดินจากป่าสมบูรณ์  เลี้ยงไว้ในร่มไม้ไม่มีแดด

1.หัวเชื้อดินดีจากป่า1ส่วน(1กก.)
2.รำละเอียด1ส่วน (1 กก.)
3.เศษใบไม้แห้งละเอียด แกลบดิบ หรือใบไผ่แห้ง 1.กระสอบ (5 กก.)
4.กากน้ำตาล(โมลาส)250 ซีซี. ผสมน้ำเปล่า 5 ลิตร

วิธีทำ
1.นำวัสดุคลุกเคล้าให้เข้ากันรดน้ำพอหมาด
2.ใช้กระสอบห่อบ่มไว้ในที่ร่มประมาณ7วัน
3.นำไปทำจุลินทรีย์น้ำ หรือ เก็บไว้สำหรับเป็นหัวเชื้อในการขยายเชื้อครั้งต่อไป
4.เก็บรักษาในที่ร่มอุณหภูมิปกติ
   
   
การเพาะเลี้ยงขยายหัวเชื้อจุลินทรีย์แบบน้ำ

นำน้ำ 200 ลิตร ,โมลาส 10 กก.(ถ้าไม่มีก็ใช้ปลายข้าวต้ม 10 กก.ใส่แทนกากน้ำตาลได้) ละลายให้เข้ากันในถังที่มีฝาปิด เอาจุลินทรีย์ที่เก็บมาจากป่า หรือจุลินทรีย์ที่เพาะเลี้ยงแบบแห้งใส่ลงไปในน้ำที่เตรียมไว้ ข้างบนโรยด้วย รำละเอียดให้ทั่วปากถัง 200 ลิตร ปิดฝาทิ้งไว้ 7-15 วัน ถ้าจุลินทรีย์ที่เก็บมามีความเข็งแรงก็จะเจริญขยายอย่างรวดเร็ว 1-2 วันก็จะเกิดเป็นฝ้าขาวบนผิวน้ำ คือ การขยายตัวของจุลินทรีย์ และ จมลงก็สามารถนำน้ำที่ได้ไปใช้ตามต้องการในการทำการเกษตร

  
        ละลายกากน้ำตาล                             ใส่เชื้อจุลินทรีย์แห้ง

   
                   เติมรำ                                   คนให้เข้ากันแล้วปิดฝา
   

ผลการวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์ที่ได้จากดินป่านำขยายในใบไผ่

1. เชื้อรา  5 ไอโซเลท 
แยกเป็น    ไตรโคเดอร์มา        2 ไอโซเลท     
               ไรโซปัส               2 ไอโซเลท
                แอสเปอร์จิลรัส       1 ไอโซเลท               
2. ยีสต์   9 ไอโซเลท
แยกเป็น     แซคคาโรไมสีตส์    4 ไอโซเลท
               ไม่สามารถจำแนกชนิดได้  5 ไอโซเลท      
3.แบคทีเรีย  5 ไอโซเลท
แยกเป็น    บาซิลัส  4 ไอโซเลท
              ไม่สามารถจำแนกชนิดได้  1 ไอโซเลท


      
           ไตรโครเดอร์มา                                         บาซิลัส

     
                  ไรโซปัส                                               ยีสต์


สรุปผลการวิเคราะห์

1.มีไตรโคเดอร์มาหลายสายพันธุ์
2.มีเชื้อราและยีสต์หลายชนิดที่ทนต่อสภาพแวดล้อมสูงและมีความสามารถในการสร้างเอมไซม์ต่างๆได้
3.มีแบคทีเรียบาซิรัสและยีสต์หลายชนิดที่สามารถสร้างสารยับยั้งเชื้อราและแบคทีเรียโรคพืชได้
4.หากนำจุลินทรีย์ใบไผ่นี้ไปใช้ในแปลงเพาะปลูกพืชจะเป็นผลดีอย่างยิ่งต่อการ ปลูกพืชของเกษตรกรไม่ว่าจะเป็นการลดปัญหาด้านโรคพืชและการเพิ่มการเจริญเติบ โต

เทคนิควิธีการนำ หัวเชื้อจุลินทรีย์ น้ำและแห้ง ไปใช้

1.1การนำไปใช้เร่งการย่อยสลายฟาง  ฟางเป็นปุ๋ยในแปลงนาที่เราไม่ต้องซื้อหาจากภายนอก การหมักฟางช่วยเร่งให้ดินฟื้นตัวเร็วขึ้น และเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับแปลงนา

วิธีการคือ   นำหัวเชื้อจุลินทรีย์น้ำ  5  ลิตรใช้ต่อ 1 ไร่ ใส่ลงในถังที่จะนำไปฉีดพ่นในแปลงนาขนาดบรรจุ 150  ลิตร เติมน้ำลงไป 100  ลิตร
พร้อมกับเติมกากน้ำตาล 5 กก. คนให้ หัวเชื้อจุลินทรีย์ น้ำเปล่า และกากน้ำตาล ในถังให้เข้ากัน นำไปฉีดหรือสาดให้ทั่วแปลงนา หรือใส่ขณะย่ำฟางและตอซังข้าวในแปลงนาให้จมลงไปในน้ำและดินในแปลงนา จุลินทรีย์จะไปช่วยย่อยสลายตอซังและฟางข้าวให้กลายเป็นปุ๋ยในแปลงนาได้ดี
หมักทิ้งไว้ 7-10 วัน ก็สามารถลูปทำเทือกหว่านข้าวได้

1.2การนำไปทำหัวเชื้อหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพจากพืชผักสีเขียวและน้ำหมักผลไม้ (น้ำหมักชีวภาพ)

น้ำหมักจุลินทรีย์ผักผลไม้
วัตถุดิบ, วัสดุ/อุปกรณ์            
1.สับปะรด 1 กก.มะละกอ 1 กก.
กล้วย1กก. พืชผักสีเขียวต่างๆ 3 กก.
2.น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์ 2 ลิตร      
3..น้ำเปล่า 10 ลิตร     
4..ปลายข้าวสุกหรือน้ำตาล
ทรายแดง 2 กก.     
5.ถังหรือโอ่งน้ำที่มีฝาปิดเพื่อใช้ในการหมัก
6.ผ้าขาวหรือกระดาษขาวเพื่อปิดปากถังหรือโอ่งก่อนใช้ฝาปิดป้องกันสิ่งแปลกปลอมตกลงถังหมัก

วิธีทำ
นำสับปะรดสุก,มะละกอสุกกล้วยสุกและพืชผักสีเขียวต่างๆ3กก.มาสับหรือปั่นให้ เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วใส่ลงในภาชนะที่เตรียมไว้  ใส่น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปลายข้าวสุกหรือน้ำตาลทรายแดง ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาภาชนะหมักให้สนิท หมักทิ้งไว้ 10-15 วัน จากนั้นเติมน้ำสะอาดคนให้ทั่วหมักไว้อีก 5- 7 วัน
นำไปใช้ได้ หรือกรองเอาเฉพาะน้ำใส่ขวดเก็บไว้ในที่เย็นอากาศถ่ายเทสะดวกใช้ได้นาน ส่วนกากนำไปใส่แปลงผักช่วยปรับปรุงสภาพดินได้ดี





ประโยชน์

1.ให้ธาตุอาหารแก่พืชผักสูงโดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน        
2.ฉีดพ่นอัตราส่วน 2-3 ช้อนแกง/น้ำ 1ลิตร ช่วยเร่งราก  เร่งใบ
ช่วยให้การเจริญเติบโตของพืชผักดี


1.3การนำไปใช้เป็นหัวเชื้อทำฮอร์โมนจากสัตว์ สูตรต่างๆ

ฮอร์โมนรวม   ได้แก่ ปลา กุ้ง หอย 30 กก.  จุลินทรีย์ 1 ลิตร  กากน้ำตาล 10 ลิตร
ฮอร์โมนรกวัว  ได้แก่ รกวัว 4 กก. ไข่หอย 4 กก.  กากน้ำตาล 5 กก.
ฮอร์โมนไข่  ได้แก่ไข่ไก่ 100 ฟอง,เชื้อจุลินทรีย์ 1 ลิตร,น้ำเปล่า 5ลิตร กากน้ำตาล 1กก.
ฮอร์โมนปลา ได้แก่ เศษปลา 3 กก. น้ำมะพร้าว 10 กก. กากน้ำตาล ? กก. จุลินทรีย์ 100 ซีซี.
ทุกสูตร หมักไว้ 1 เดือนแล้วกรองเอาน้ำไปใช้ได้ดี





1.4 นำไปใช้เป็นหัวเชื้อทำปุ๋ยหมักชีวภาพ แบบแห้ง สูตรต่างๆคือ

สูตร1 . เศษพืชสับเป็นท่อนๆ 1ปี๊บ เช่นพืชตระกูลถั่ว แค ขี้เหล็ก จามจุร ีสาบเสือ มันสำปะหลัง ฯลฯ แกลบดิบ หรือละอองข้าว 1 ปี๊บ  ฟิลเตอร์เค้ก(กากตะกอนอ้อย) 5 ปี๊บ  หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ขยายแล้ว 1 ลิตร  น้ำสะอาด+กากน้ำตาล ( 1 : 20 )  รำละเอียด 1 ปี๊บ
วิธีทำ   นำทุกอย่างผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ความชื้น 40 % กองคลุมด้วยกระสอบหรือผ้า หมักไว้ 2-3 วันก็นำไปใส่ แปลงผัก แปลงนาข้าวได้ผลดีมาก แปลงนาข้าวได้ผลดีมาก
สูตร 2. ละอองข้าว 5 ถุง, มูลไก่ไข่ 4 ถุง, กากน้ำตาล 200 ซีซี,
จุลินทรีย์ 200 ซีซี, รำละเอียด15กก.ทุกอย่างผสมรวมกันหมักไว้ 7 วัน นำไปใช้ได้


หมายเหตุ

การนำเชื้อจุลินทรีย์จากป่าไปใช้ต้องเข้าใจด้วยว่า สภาพพื้นที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้จุลินทรีย์เติบโตแข็งแรงและทำงานให้แก่เรา ได้ตามวัตถุประสงค์ที่เราต้องการ
เพราะว่า จุลินทรีย์ที่เรานำมาจากป่า ก็ต้องการที่อยู่อาศัย ต้องการอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ต้องการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์  ได้ทำงานในบทบาทหน้าที่ตามที่ถนัด  มีสังคมเพราะจุลินทรีย์คือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กก็มีการอยู่ร่วมกันมีกระบวน การทำงานร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่น เพื่อก่อเกิดการฟื้นฟูสภาพดินให้ได้รวดเร็วมากขึ้น   เกษตรกรต้องให้ความสำคัญต่อปัจจัยต่างๆเหล่านี้ เพื่อให้การปรับปรุงบำรุงดินโดยการใช้จุลินทรีย์ช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุด